เมื่อสมัยพระเจ้ากือนาราธรรมมิกราช ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๑๙๔๓ ขุนนางข้าราชการ ได้อัญเชิญพ่อท้าวแสนเมืองมา ราชโอรสชึ้นเสวยราชสมบัติ เจ้าท้าวมหาพรหม ซึ่งครอง เมืองเชียงรายได้คิดกบถยกทัพเวียงพิงค์ตีแตกพ่ายไป ต่อมาท้าวมหาพรหมขออภัยโทษ โดยการถวายพระพุทธสิหิงค์จากเมืองกำแพงเพชรโดยส่งมาตามลำน้ำปิงขึ้นที่ท่าวัดสิงห์คำ พระพุทธสิหิงค์ได้เปร่งรัศมีเรืองๆเป็นที่อัศจรรย์ จึงได้โปรดสร้างวัดขึ้น ชื่อว่า “ฟ้าฮ่าม” และได้ปลูกบ้านเมืองนี้ว่า “ฟ้าฮ่าม” ตราบจนปัจจุบัน
ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในตำบลห้วยแก้ว แต่เดิมตำบลห้วยแก้วเป็นถิ่นฐาน ของชนชาวเผ่าลัวะ ต่อมามีการอพยพของชนพื้นเมือง ซึ่งมาจากอำเภอดอยสะเก็ด และอำเภอสารภี เข้ามาอยู่และมีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงทำให้ชาวลัวะที่อยู่เดิมนั้นอพยพหนีออกไปเหลือแต่ ชาวพื้นเมืองและชาวพื้นเมืองได้ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นโดยอยู่ในเขตปกครองของตำบลออนเหนือโดยมีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายใจ๋ สุยะพรหม ซึ่งในการตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นชาวบ้านและผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นได้เห็นว่ามีภูเขา ลูกหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยสายหนึ่งชาวบ้านเห็นว่าใน ลำห้วยนี้มีความใสเหมือนแก้ว จึงนำมาตั้งเป็นชื่อของหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านห้วยแก้ว” ต่อมาชุมชนนี้ มีความหนาแน่นมากขึ้นจึงขอแยกตัวออกมาเป็นตำบล เรียกว่า “ตำบลห้วยแก้ว” มีหมู่บ้านทั้งหมด ๗ หมู่บ้าน มีกำนันคนแรกชื่อ นายอินเหลา ไชยวงศ์ยะนะ และต่อมาราษฎรบ้านแม่กำปองหมู่ที่ ๓ มีมากขึ้นและพื้นที่ห่างไกลกัน จึงได้แยกเป็นสองหมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๓ บ้านแม่กำปอง และหมู่ที่ ๘ บ้านธารทอง ปัจจุบันตำบลห้วยแก้ว มีทั้งหมด ๘ หมู่บ้าน